เนื้อหาล่าสุด
2nd Jun

2014

เอกสารวิชาการหมายเลข 3 พลวัตของความยากจน กรณีศึกษาครัวเรือนชาวนาในพื้นที่เขตชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของไทย

CoverPages_Publications3

พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555

ISBN 978-616-202-577-8

คณะวิจัย ดร.อานันท์ชนก สกนธวัฒน์

บรรณาธิการ สมพร อิศวิลานนท์ / ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์

เอกสารวิชาการชิ้นนี้ ได้สังเคราะห์จากงานศึกษาวิจัยเป็นความพยายามแรกที่จะศึกษาเกี่ยวกับพลวัตความยากจนของประเทศไทยทั้งรูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดพลวัตความยากจน โดยการเชื่อมโยงภาพจากระดับประเทศลงไปในระดับครัวเรือน และอาศัยวิธีวิจัยโดยการผสมผสานระหว่างวิธีการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อมาอธิบายกลไกการเกิดพลวัตความยากจนในระดับครัวเรือนในชนบทของประเทศไทยโดยเปรียบเทียบในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา คือระหว่างปี 2531 และ 2552 ในพื้นที่ภาคกลาง คือจังหวัดสุพรรณบุรี และพื้นที่ภาคอีสาน คือจังหวัดขอนแก่น จำนวนทั้งหมด 240 ครัวเรือน เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพลวัตความยากจนบนกรอบแนวคิดของการดำรงชีพครัวเรือนในชนบทโดยมุ่งหวังว่าการสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นเกี่ยวกับพลวัตความยากจนของประเทศไทยจะสามารถช่วยในการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครัวเรือนผู้ประกอบอาชีพทำนาและเกษตรกรรมที่ประสบกับความยากจนหรือมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ความยากจนให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจึงแบ่งแยกและกำหนดความสำคัญตามลักษณะและสาเหตุที่แตกต่างกันไปของแต่ละประเภทพลวัตความยากจน ดังนี้
นโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเรื้อรัง (chronic poverty) ควรมุ่งเน้นการสร้างฐานรายได้ครัวเรือนให้เข้มแข็งเพื่อสามารถเพิ่มระดับรายได้ของครัวเรือนให้ขยายตัวได้ในระยะยาวและยกระดับการดำรงชีพให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
สำหรับนโยบายเพื่อรองรับไม่ให้เกิดความยากจนชั่วคราว (transient poverty) และป้องกันไม่ได้ครัวเรือนเข้าสู่ความยากจน ควรจะต้องมุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดความผันผวนของรายได้ครัวเรือนที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะสั้น

สามารถอ่านรายงานโครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลกระทบจากงานวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร” ในรูปแบบ E-Book ได้ที่

http://ag-ebook.lib.ku.ac.th/ebooks/book.php?id=20130060

  •  ขอขอบคุณโครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้ความอนุเคราะห์จัดทำ E-book มา ณ ท่ี่นี้

Download Attachments

Share This :